fbpx

ประวัติคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม วัดอาวุธ

คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๗ ตรงกับวันอาทิตย์เดือน ๔ ปีมะเมีย ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลา ๑๑.๒๐ น. บิดาชื่อนายยิ้ม กลิ่นผกา มารดาชื่อ นางสวน กลิ่นผกา สถานที่เกิดอยู่ในคลองสามวา อำเภอมีนบุรี กรุงเทพฯ ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ตำบลบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี มีฐานะทางบ้านเป็นชาวสวน ท่านได้เติบโตในละแวกบ้านชาวสวนจนเติบใหญ่ บิดาของท่านมีภริยาทั้งสิ้นสามคน ภรรยาคนแรกมีบุตรสองคนคือ นางอยู่ (หรือ ทองอยู่) กลิ่นผกา เป็นพี่สาวของท่าน ซึ่งได้สิ้นชีวิตไปนานแล้ว คนต่อมาคือคุณแม่บุญเรือน ภรรยาคนที่สองชื่อนางเทศ มีบุตรสามคน คือนายเนื่อง นางทองคำ นางทิพย์ ฯลฯ ภรรยาคนที่สามไม่มีใครจำชื่อได้ จำไม่ได้ทั้งว่ามีบุตรชายและหญิงหรือไม่

ชีวิตวัยเยาว์ ท่านได้รับการศึกษาให้รู้ภาษาไทยสมควรกับอัตภาพพอเหมาะสมกับสมัย ได้รับการฝึกสอนอบรมจากบิดามารดา ท่านมีความสามารถในการทำกับข้าวมีรสโอชาหลายอย่าง เช่น น้ำพริก ท่านปรุงได้รสอร่อยเป็นอันมาก นอกนั้นอาหารจำพวกแกง และ ต้ม หลายชนิด ท่านก็สามารถทำได้อย่างดี นอกจากนี้ก็ยังมีความสามารถในการเย็บจักร ตัดเสื้อผ้า ตัดผมได้ เมื่อคุณแม่บุญเรือนอายุได้ ๑๕ ปีเศษ ซึ่งเป็นวัยรุ่นสาว ท่านได้รับการฝึกสอนจากชีวิตในครอบครัวให้รู้จักการ “นวด” เนื่องจากปู่ของคุณแม่บุญเรือนผู้ซึ่งคนทั่วไปเรียกว่า “อาจารย์กลิ่น” เป็นหมอนวดผู้มีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น จนกระทั่งเมื่อ “อาจารย์กลิ่น” ท่านเห็นว่าได้ประสิทธิประศาสน์วิชาได้ประมาณหนึ่งแล้วท่านจึงได้ “ครอบวิชาหมอนวด” และมอบตำราหมอนวดให้เป็นสมบัติสืบทอดแก่คุณแม่บุญเรือน โดยตำราดังกล่าวได้มีข้อห้ามไว้ว่า การนวดตามตำรานี้จะเรียกร้องเงินทองเป็นค่าจ้างไม่ได้ สุดแล้วแต่ผู้รับการนวดจะให้เองโดยสมัครใจเท่านั้น ในสมัยต่อมา เมื่อคุณแม่บุญเรือนได้สำเร็จธรรมแล้ว ท่านก็ได้ใช้วิธีรักษาด้วยการอธิษฐานธรรม และอธิษฐานสิ่งของต่างๆ เพื่อใช้ในการรักษาโรคตามวิธีการของท่าน ปรากฏว่ามีโรคภัยไข้เจ็บหลายชนิดที่ท่านใช้วิธีนวดเข้าช่วยด้วย เช่น คนไข้คนหนึ่งเป็นไส้ติ่งอักเสบ ท่านก็ได้อธิษฐานปูนทาและการนวดประกอบกัน และประสบผลสำเร็จในการรักษาอย่างน่าอัศจรรย์

ในช่วงสมัยวัยรุ่น ท่านได้รับการแนะนำให้รู้จักพระภิกษุรูปหนึ่ง ที่วัดบางปะกอก พระภิกษุรูปนั้นคือพระอาจารย์พริ้ง (พระครูประศาสน์สิกขกิจ) ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของท่าน พระอาจารย์พริ้งนี้เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมาก เป็นพระอาจารย์องค์หนึ่งของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และเมื่อท่านรู้จักหลวงลุงของท่านแล้ว ท่านก็ได้นำภัตตาหารและและเครื่องไทยทานต่างๆ ไปถวายพระอาจารย์พริ้งอยู่เสมอๆ ทำให้ท่านได้รับการสั่งสอนให้รู้จักธรรมะ และคุณธรรมในการดำเนินชีวิตตามแนวคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้เริ่มเลื่อมใสศรัทธา และรักงานบุญงานกุศลมากขึ้น ทั้งน่าจะถือได้ว่าเป็นปฐมเหตุสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้ท่านบำเพ็ญกรณียกิจ เป็นนักบุญในพระพุทธศาสนาในสมัยต่อมา

ชีวิตสมรส เมื่อคุณแม่บุญเรือนมีอายุพอสมควร ก็ได้ทำการสมรสกับ ส.ต.ท.จ้อย โตงบุญเติม ซึ่งเป็นตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลสัมพันธวงศ์ ตั้งอยู่บริเวณสามแยกเจริญกรุง อยู่ห่างจากวัดสัมพันธวงศ์ เพียง ๓๐๐ เมตรเศษชีวิตสมรสของคุณแม่บุญเรือน นับว่าเต็มไปด้วยความเรียบร้อยและราบรื่น เล่ากันว่าสามีของท่านเป็นผู้เอาอกเอาใจท่านดีผู้หนึ่งแต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกันเลย คุณแม่ได้รับอุปการะเด็กหญิงชายอื่นอยู่บ้างเป็นครั้งคราว แต่มีผู้ที่ท่านอุปการะมาแต่เยาว์วัยตลอดมาจนเติบใหญ่ คนหนึ่งในฐานะบุตรบุญธรรม คือ เด็กหญิงอุไร จนอายุ ๑๙ ปี นางสาวอุไรจึงได้เข้าพิธีสมรสกับ ร.ต.ท.เต็ม คำวิเทียน นางอุไร กับ ร.ต.ท. เต็ม อยู่กินกันมาจนมีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อว่า นิดา คำวิเทียน ซึ่งเป็นหลานยายที่คุณแม่บุญเรือนให้ความเมตตาเป็นอย่างยิ่ง ในระหว่างครองชีวิตร่วมกับ ส.ต.ท.จ้อย โตงบุญเติม คุณแม่บุญเรือนได้ประกอบอาชีพช่วยสามีด้วยการรับตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยจักร ตามความชำนาญที่ท่านได้ฝึกฝนมาแต่เดิม  นอกเหนือจากการตัดเย็บเสื้อผ้าที่ท่านทำเป็นอาชีพแล้ว ท่านยังรักษาโรคโดยการนวด ซึ่งท่านทำเป็นการกุศลโดยไม่รับสินจ้าง และท่านยังมีความสามารถในการทำคลอด หรือเป็นหมอตำแยแผนโบราณด้วย ซึ่งทำให้ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากในขณะนั้น

การปฏิบัติธรรม คุณแม่บุญเรือนได้เริ่มฝึกหัดวิปัสสนากัมมัฏฐานที่วัดสัมพันธวงศ์ กับท่านเจ้าคุณพระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ต่อมาสามีได้อุปสมบทที่วัดนี้ ๑ พรรษา และเมื่อสามีลาสิกขาไปแล้ว สามีก็ยังเป็นผู้ถือมั่นในทางธรรมอย่างมาก ทำบุญให้ทานเป็นประจำ สุราซึ่งเมื่อก่อนอุปสมบทดื่มเมาถึงคลานก็เลิกเด็ดขาด ทำให้คุณแม่บุญเรือนก็ยิ่งมีศรัทธาเลื่อมใสมากขึ้น ในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๐ จึงได้ลาสามีออกบวชเป็นชี และอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดสัมพันธวงศ์ ได้เพียรฝึกหัดวิปัสสนากัมมัฏฐาน

บรรลุธรรม คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม เคยเล่าถึงเหตุการณ์ตอนที่ท่านจะบรรลุธรรมไว้กับนายสุวรรณ ทองนาค บ้านอยู่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี (ซึ่งต่อมาในปี ๒๕๑๑ได้บวชเป็นพระ ที่วัดอาวุธวิกสิตาราม) ว่า “ท่านตั้งใจจะขอปฏิบัติธรรมให้สำเร็จอยู่ที่ศาลาวัดสัมพันธวงศ์ เป็นเวลา ๙๐ วัน โดยถือศีล ๘ บวชเป็นชี นั่งสวดมนต์ภาวนา เจริญวิปัสสนาตามแนวทางของท่านเจ้าคุณพระมหารัชชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ (ในสมัยนั้น) การปฏิบัติธรรมดำเนินไปจนล่วงเข้าวันที่ ๘๙ ก็ยังไม่สำเร็จธรรม หรือเห็นธรรมแต่ประการใด จึงคิดท้อใจกลับบ้านที่บ้านพักตำรวจปทุมวัน ได้พบกับสิบตำรวจโทจ้อย ผู้เป็นสามี คุณแม่บุญเรือนจึงอาบน้ำ นุ่งขาวห่มขาว เตรียมตัวไหว้พระสวดมนต์ ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ ๒๑.๐๐ นาฬิกา เดือน ๖ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ (ตรงกับวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๔๗๐) จากนั้น คุณแม่บุญเรือนก็ได้แลเห็นโยมมารดาและหลานๆ นอนหลับกันหมดแล้ว โยมมารดานั้นมีอาการกรน ส่วนหลานๆ ก็มีอาการละเมอบ่นพึมพำ และกัดฟันกรอดๆ รู้สึกเกิดธรรมสังเวชเบื่อหน่ายต่อสภาพอย่างนั้นขึ้นมาในขณะนั้น ท่านจึงคิดอยากหลีกหนีเสียชั่วคราว ครั้นแล้วคุณแม่บุญเรือน ก็ได้นั่งสมาธิกรรมฐานในห้องพระ จนกระทั่งถึงเวลาประมาณตี ๒ ก็มีอาการแน่นหน้าอก อึดอัด หายใจไม่ออก คล้ายกำลังจะตาย จึงตั้งสติว่า ‘ถ้าจะตายก็ขอให้ตายในตอนนี้เถิด จะได้หมดเวรหมดกรรม ธรรมก็ยังไม่ได้บรรลุเลย’น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก เมื่อคุณแม่บุญเรือนคิดดังนี้เท่านั้น อาการทุกขเวทนาทั้งปวงก็พลันหายไปสิ้น บังเกิดความสว่างขึ้นมาทั้งตัว มีความใสสว่างอย่างสุดที่จะประมาณ รู้ชัดว่าตนเองบรรลุอภิญญาถึง ๕ อย่าง มีพระธรรมเข้าประทับ เมื่อนึกอยากรู้อยากเห็นอะไร ก็รู้แจ้งแทงตลอดสว่างไสวไปหมด และยังได้อิทธิปาฏิหาริย์อีกด้วย จากนั้น เมื่อคุณแม่บุญเรือนบรรลุธรรมแล้ว ก็ได้นั่งกรรมฐานต่อไปอีก จนกระทั่งเวลาใกล้ตี ๕ รุ่งเช้า ได้คิดถึงวัดสัมพันธวงศ์ จึงตั้งจิตอธิษฐานขอให้เข้าไปนั่งในศาลาวัดสัมพันธวงศ์ พอสิ้นอธิษฐาน แล้วหลับตาลง ก็คล้ายกับหัวได้หกกลับไปเบื้องหน้า คล้ายกับตีลังกา เมื่อลืมตาขึ้นอีกครั้ง ก็ปรากฏว่าตัวเองได้เข้ามานั่งอยู่ในศาลาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประตูศาลาวัดยังคงปิดใส่กุญแจอยู่ คุณแม่บุญเรือนจึงได้ร้องเรียกให้พระภิกษุสามเณรซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น ช่วยไขกุญแจเปิดประตูให้ที เมื่อเรื่องที่คุณแม่บุญเรือนหายตัวมาปรากฏอยู่ในศาลาวัด แพร่หลายออกไป ก็มีพระเณรเถรชี อุบาสกคุณแม่ต่างก็มารุมล้อม โจษจันกันเซ็งแซ่ด้วยความตื่นเต้นอัศจรรย์ใจอย่างเหลือที่จะกล่าวได้ไปตามๆ กัน ต่อมาคุณแม่บุญเรือน ท่านได้อธิษฐานหายตัวจากศาลาไปเขาวงพระจันทร์ ท่านได้พบพระผู้วิเศษที่นั่น และได้รับพระธาตุ ๑ องค์จากพระองค์นั้น กลับมาพระธาตุยังกำอยู่ในมือ เป็นพยานแก่ตัวท่านเองว่ามิได้ฝันไป” หลังจากนั้นท่านก็มิได้แสดงฤทธิ์อะไรที่เป็นไปในลักษณะการแสดงให้คนชมอีกเลย เว้นแต่อยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็น

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ท่านเริ่มปฏิญาณไม่รับรักษาโรคด้วยวิธีการนวดให้แก่ผู้ชาย เว้นไว้แต่ธรรมจะบันดาล การรักษาโรคในระยะนี้จะเป็นการรักษาโดยอธิษฐานเพียงอย่างเดียว ส่วนการสั่งสอนและอบรมธรรมะยังคงปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง จนถึงวันก่อนที่ท่านวายชนม์ ๑ วัน ครั้นต่อมาประมาณ เดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๗ ท่านมีอาการป่วยโรคไต หัวใจอ่อน โลหิตจาง และความดันโลหิตสูง ติดต่อกันมาตามลำดับ มีแต่อาการทรงกับทรุด ไม่ยอมรับรักษาของแพทย์ เช่น นายแพทย์ปรีดา ล้วนปรีดา และแพทย์หญิงวัฒนา ดวงจันทร์ ซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิด ได้เคยอ้อนวอนเพื่อทำการรักษา โดยฉีดยา ให้น้ำเกลือและกลูโคส และอ้อนวอนขอให้รับประทานยาแผนปัจจุบันบ้าง เป็นครั้งคราว แต่คุณแม่บุญเรือนก็ไม่ยอม นานๆ จึงจะยอมตามใจแพทย์สักครั้งหนึ่ง จะพาไปโรงพยาบาลท่านก็ไม่ไป ท่านต้องนอนป่วยลุกนั่งไม่ได้เป็นเวลา ๙ เดือน “อันว่า สังขาร ร่างกาย และใจ หรือขันธ์ห้านี้ ไม่ใช่ตัวของเรา มันเป็นเพียงเครื่องอยู่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น เป็นเรือนทุกข์ แม่ต้องการออกไปจากเรือนทุกข์นี้” คุณแม่บุญเรือนกล่าว บรรดาบุคคลในคณะสามัคคีวิสุทธิ์ เมื่อได้ยินคำพูดของท่านแล้วเต็มไปด้วยความเศร้าสะท้านในหัวใจอย่างคาดคิดไม่ถึง นี่ละคือผู้สิ้นอาสวะกิเลสผู้บรรลุอาสวักขยญาณโดยแท้ ต่อมาเมื่อวันที่ ๓, ๔, ๕ กันยายน ๐๗ ท่านมีอาการอ่อนเพลียมาก เหนื่อยในเวลาพูดและเบื่ออาหาร มีเสมหะเหนียว ในลำคอ ปวงสานุศิษย์ลูกหลานยังคงมาร่วมชุมนุมสวดมนต์ภาวนาเช่นเคย คุณแม่ก็ยังทักทายไต่ถามได้อย่างแจ่มใส หากไม่สังเกตจะไม่ทราบอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใดเลย มีข้อสังเกตอันสำคัญประการหนึ่ง ก่อนหน้านี้หลายสัปดาห์ คุณแม่ได้สั่งให้หยุดนาฬิกาเรือนใหญ่ไว้ที่เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกาเศษทั้งสองเรือน ท่านบอกว่าหนวกหู ชาวคณะสามัคคีวิสุทธิปฏิบัติตามคำสั่งโดยมิได้เฉลียวใจแต่อย่างใด และแล้ววันที่ลูกศิษย์ลูกหลานได้ประสบความเศร้าโศกรันทดใจอย่างใหญ่หลวงก็มาถึง เพราะในเวลา ๑๑.๒๐ น. ของวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๐๗ คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ได้วางสังขารทิ้งร่างจากไปอย่างไม่มีวันกลับ

การเลือกเกมที่ บิงโกเกม อาจคล้ายกับการบ่นเกี่ยวกับความหลงใหล แต่ความแตกต่างอยู่ที่ความหลากหลายและทางเลือก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เล่นสามารถเลือกระหว่างเกมต่างๆ เช่น โป๊กเกอร์ รูเล็ต แบล็คแจ็ค และสล็อต โดยพิจารณาจากความชอบของตนเอง เช่นเดียวกับการรักษาต่างๆ ที่กล่าวถึงในข้อความ ผู้เล่นสามารถเลือกตัวเลือกการเล่นที่แตกต่างกันเพื่อให้เหมาะกับความต้องการของพวกเขา โบนัสและโปรโมชั่นในคาสิโนสามารถนำมาเปรียบเทียบกับ “คำสั่งซื้อ” หรือการตัดสินใจบางอย่างที่อยู่ในข้อความ ซึ่งบางครั้งก็เถียงไม่ได้และไม่คาดคิด

© Copyright 2024, กร มหาลาภ รับเช่า – ให้เช่า พระเครื่อง พระปิดตา เครื่องราง สายวัดสะพานสูง และพระเครื่องยอดนิยม ทุกชนิด เหมาหิ้ง เหมาบ้าน www.Stats.in.th